[x]ปิดหน้าต่าง
## + + Sutllen ++ : ##

....SUT  LLEN....

  :: หน้าหลัก  
  :: เกี่ยวกับโครงการ  
  :: คณะผู้วิจัย  
  :: สมาชิก  
  :: ผู้เข้าร่วมโครงการ  
  :: โครงการวิจัย  
  :: เครือข่าย SUT LLEN  
  :: ข่าวประชาสัมพันธ์  
  :: เว็บบอร์ด  
  :: Link ที่เกี่ยวข้อง  
  :: ดาวน์โหลด  
  :: ติดต่อสอบถาม  



  :: รายการ tag  
  :: รายการ blog  
  :: gallery สมาชิก  



  :: สำหรับเจ้าหน้าที่

 
 



 
 
ระบบสมาชิก
หน้าล็อคอิน
Username :
Password :
  


 

โครงการ การพัฒนาเครือข่ายเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
Network Development of Mathematics and Science Senior high School Education in Provincial Administrative Organization of Nakhon Ratchasima’ School

ความเป็นมา

           สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ได้ริเริ่มที่จะนำนวัตกรรมและคิดค้นแนวทางการวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาการศึกษาในพื้นที่จังหวัด โดยเน้นการระดมสรรพกำลังและการประสานเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษาทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา และองค์กรภาคีต่าง ๆ ในพื้นที่เอพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน โดยเบื้องต้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ได้รับการสนับสนุนให้ศึกษาข้อมูลการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมหาวิทยาลัยได้ร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (อบจ. นม.) ศึกษาข้อมูลการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนในสังกัด อบจ. นม. จำนวน 58 โรงเรียน พบว่าผลการสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน ( O-NET) ในวิชาคณิตศาสตร์ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศทุกโรงเรียน (ค่าเฉลี่ยผู้สอบทั้งประเทศ เท่ากับ 35.98 คะแนน) แต่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของจังหวัดนครราชสีมาเพียง 3 โรงเรียน ( ค่าเฉลี่ยของจังหวัดนครราชสีมาเท่ากับ 33.0 คะแนน ) สำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ผลออกมาใกล้เคียงกัน กล่าวคือ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศทุกโรงเรียน (ค่าเฉลี่ยของผู้สอบทั้งประเทศ เท่ากับ 33.65 คะแนน ) แต่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของจังหวัดนครราชสีมาเพียง 4 โรงเรียน ( ค่าเฉลี่ยของจังหวัดนครราชสีมา เท่ากับ 32.18 คะแนน )

             ส่วนผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสังกัด อบจ.นม. ได้รับการประเมินรอบสอง (พ.ศ. 2549 – 2551 ) จำนวน 26 โรงเรียน ได้รับการรับรองจาก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) จำนวน 18 โรงเรียน ส่วนอีก 8 โรงเรียน ไม่ได้รับการรับรองจาก สมศ. เมื่อพิจารณามาตรฐานด้านผู้เรียน 7 มาตรฐาน มาตรฐานที่ได้รับการประเมินต่ำมี 3 มาตรฐานคือ มาตรฐานที่ 4 (ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์) มาตรฐานที่ 5 (ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร) และมาตรฐานที่ 6 (ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตัวเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง) สำหรับมาตรฐานด้านผู้สอน 2 มาตรฐาน มาตรฐานที่ได้รับการประเมินต่ำสุดคือ มาตรฐานที่ 9 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

            มทส. ได้จัดประชุมเชิงปฎิบัติการ เพื่อระดมความคิดในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้บริหารและครูผู้สอนของโรงเรียนในสังกัด อบจ. นม. ใน 4 สาขาวิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา จำนวน 121 คน พบว่า ครูผู้สอนต้องการความร่วมมือในการพิจารณาหลักสูตรและแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยมี มทส.เป็นแกนกลาง โรงเรียนขาดแคลนอุปกรณ์สื่อการสอน เช่น คอมพิวเตอร์ วีดิทัศน์ อุปกรณ์การทดลองในห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ ยังต้องการให้ มทส. เปิดอบรมการใช้โปรแกรมเพื่อสร้างสื่อการเรียนการสอน เทคนิคในการทดลองในห้องปฏิบัติการ รวมทั้งการเพิ่มเติมความรู้ทางด้านเนื้อหาเพื่อให้ทันสมัย เป็นต้น

           จาการประเมินโอกาสความร่วมมือของเครือข่ายสนับสนุนในพื้นที่พบว่า จังหวัดนครราชสีมา มีทุนในพื้นที่ที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ทั้งแหล่งเรียนรู้และบุคลากร ประกอบกับ มทส. เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีประสบการณ์การจัดกิจกรรมพัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกับโรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีความร่วมมือกับเครือข่ายสนับสนุนภาคการศึกษา เอกชน และแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ภายในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ อบจ. นม. สำนักงานเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา (สพท. นม.) ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย โรงเรียนสุรนารีวิทยา โรงเรียนบุญวัฒนา สถาบันภาคีอุดมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา และเครือข่ายสนับสนุนนอกจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ สพท.บุรีรัมย์ สพท.สุรินทร์ โรงเรียนสิรินธร โรงเรียนสุรวิทยาคาร โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ สถาบันในเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เป็นต้น มทส. จึงสามารถเป็นแกนหลักในการบริหารเครือข่ายให้ประสบความสำเร็จได้

          จากปัญหาที่พบข้างต้น การประเมินโอกาสความร่วมมือ ทุนในพื้นที่ และจุดแข็งของ มทส. เอง ทำให้ มทส. สนใจที่จะดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสังกัด อบจ. นม. โดยการทำงานร่วมกันระหว่างคณะวิจัยและเครือข่ายที่มีอยู่ทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย ในการจัดกิจกรรมหนุนเสริม การนิเทศ และการติดตามการประเมินผล ซึ่งหลังจากครูนำกิจกรรมไปใช้ในการเรียนการสอน คาดว่านักเรียนจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ดีขึ้น ครูจะมีทักษะในการสร้างกิจกรรมหนุนเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และเกิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะส่งผลให้การจัดการศึกษาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และพัฒนาการจัดการศึกษาในพื้นที่บรรลุผลต่อไป

วัตถุประสงค์
  
1.
เพื่อพัฒนาเครือข่ายในพื้นที่เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

        2.เพื่อพัฒนากิจกรรมหนุนเสริมในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา







โครงการ SUT LLEN

เลขที่ 111 ถนนมหาวิทยาลัย ตำบลสุรนารี
อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
โทรศัพท์: 044-224-544 โทรสาร: 044-224-544